วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เครื่องมือวัดกระแสตรง

หน่วยที่ 2
เครื่องวัดกระแสตรง

             เครื่องมือวัดกระแสตรงจัดเป็นเครื่องมือวัดเริ่มแรกของวงจรเครื่องมือวัดอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า  คือ กัลวานอมิเตอร์ ( Galvanometer ) หรือมูฟเม้นท์มิเตอร์ ( Movement Meter )
ซึ่งอาศัยหลักการทำงานจากสนามแม่เหล็กขับตัวบอกชี้ซึ่งเป็นแบบเข็ม โดยอาศัยปริมาณของกระแสเป็นตัวกำเนิดสนามแม่เหล็กผลักหรือดูดกับสนามแม่เหล็กถาวรให้เบี่ยงเบนเข็มบนสเกลที่กำหนดไว้ว่ามีขนาดเท่าไร ใช้สำหรับวัดหรือตรวจจับ ( Detect ) กระแสปริมาณน้อย ๆ  กัลวานอมิเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบันจะเป็น D" Arsonval Galvanometer ( Permanent  Magnet  Moving Coil , PMMC )  โดยจะมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่สำคัญที่ต้องรู้ก่อนนำไปใช้งานคือ กระเต็มสเกล ( Full Scale Current , Ifs )  และ ความต้านทานภายใน ( Internal Resistance , Rm )
1.  Movement  Meter
     มูฟเม้นท์มิเตอร์จะอาศัยหลักการทำงานที่สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภทคือ
     1.1 Electromagnetic  movement   โดยอาศัยปริมาณของกระแสเป็นตัวกำเนิดสนามแม่เหล็กผลักหรือดูดกับสนามแม่เหล็กถาวรให้เบี่ยงเบนเข็มบนสเกล หรือหลักการของแม่เหล็ก
     1.2 Electrostatic  movement    โดยอาศัยหลักการของ Electrostatic
     1.3 Thermal  movement           โดยอาศัยหลักการของความร้อน
2. ชนิดของ Movement  Meter
       2.1  D’Arsonval  movement meter
       2.2  Iron – Vane movement meter
       2.3  Dynamometer  movement meter
       2.4  Electrostatic  movement meter
       2.5  Thermal  movement meter
  3. การหาคุณสมบัติของ Movement Meter
 3.1 การหากระเต็มสเกล ( Ifs )   มีวิธีการหาได้ 2 วิธีคือ วิธีใช้แอมมิเตอร์มาตรฐานวัด              ( Standard Ammeter ) และใช้แหล่งจ่ายแรงดันมาตรฐาน ( Standard Voltage source )
      3.1.1 การหาค่ากระแสเต็มสเกลโดยวิธีแอมมิเตอร์มาตรฐาน  ทำได้โดยการนำแอมมิเตอร์มาตรฐานมาวัดกระแสในวงจร ในขณะที่เข็มของมิเติอร์มูฟเม้นท์ชี้เต็มสเกล ซึ่งวิธีนี้ความถูกต้องจะขึ้นอยู่กับความเที่ยงตรงของแอมมิเตอร์มาตรฐาน และการอ่านค่าของผู้วัด




                                รูปที่ 2.1 แสดงการใช้ Standard Ammeter วัดหาค่า Ifs



3.1.2
การหาค่ากระแสเต็มสเกลโดยวิธีใช้แหล่งจ่ายแรงดันมาตรฐาน  ทำได้โดยการนำแหล่งจ่ายมาตรฐาน ( standard cell 1.52 V.) มาต่อเข้ากับวงจรและใช้ตัวต้านทานต่ออนุกรมกับมิเตอร์มูฟเม้นท์ โดยเปลี่ยนตัวต้านทานไปเรื่อย ๆ จนกว่าเข็มของมิเตอร์มูฟเม้นท์ชี้เต็มสเกลแล้วจึงนำมาคำนวณหาค่ากระแสที่ไหลผ่าน ซึ่งมีบอกค่ากระแสเต็มสเกลที่ค่าตัวต้านทานต่างๆเป็นตารางไว้เรียบร้อยแล้ว
                                                รูปที่ 2.2 แสดงการใช้ Standard Voltage source วัดหาค่า Ifs
   3.2. การหาค่าความต้านทานของมิเตอร์มูฟเม้นท์ (Rm) มีวิธีการหาได้ 2 วิธีคือวิธีกึ่งกลางสเกล ( Half Scale Method ) และวิธีแอมมิเตอร์มิลลิโวลท์มิเตอร์ ( Ammeter - Milivoltmeter)
         3.2.1 การหาค่าความต้านทานภายในโดยวิธีกึ่งกลางสเกล ทำได้โดยการนำมิเตอร์มูฟเม้นท์มาต่อกับแหล่งจ่ายโดยมีตัวต้านทานปรับค่า ( Rs )เป็นตัวปรับให้เกิดกระแสในวงจรเท่ากับกระแสเต็มสเกล โดยสังเกตที่เข็มของมิเตอร์มูฟเม้นท์ชี้เต็มสเกล  แล้วนำตัวต้านทานปรับค่าอีกตัวหนึ่ง ( Rp )มาต่อขนานกับมิเตอร์มูฟเม้นท์เพื่อเป็นตัวแบ่งกระแสที่ไหลผ่านมิเตอร์มูฟเม้นท์เป็น สองส่วนเท่า ๆกัน โดยสังเกตที่เข็มของมิเตอร์มูฟเม้นท์ชี้ที่กึ่งกลางสเกล  แล้วหลังจากนั้นก็นำตัวต้านทานปรับค่า (Rp) ตัวนี้มาต่ออนุกรมเพิ่มเข้าไปในวงจร ซึ่งจะทำให้กระแสในวงจรนี้ลดลงไปหนึ่งส่วนของกระแสเต็มสเกล  แล้วจึงนำค่าความต้านทานในวงจรสุดท้ายมาลบกับค่าความต้านทานของวงจรแรก
ดังรูปที่ 2.3


                 )                                                           )                                                            )
                                               
รูปที่ 2.3 แสดงการต่อวงจรหาค่า Rm โดยวิธีกึ่งกลางสเกล
  จากรูป ก) เป็นการนำตัวต้านทานปรับค่า Rs มาต่อเพื่อปรับค่ากระแสให้ได้กระเต็มสเกล
จะได้สมการคือ
                                Ifs          =            
                  Rs + Rm            =                        ……………………. ( 1 )
และจากรูป ข) เมื่อนำตัวต้านทาน Rp มาต่อขนานกับมิเตอร์มูฟเม้นท์แล้วปรับให้กระแสที่ไหลผ่านมิเตอร์มูฟเม้นท์ลดลงกึ่งหนึ่ง โดยสังเกตที่เข็มมิเตอร์มูฟเม้นท์ชี้ที่กึ่งกลางสเกล
จะได้สมการคือ
                                Rm        =             Rp
และจากรูป ค) เมื่อนำตัวต้านทาน Rp มาต่อขอนุกรมเพิ่มเข้าไปในวงจรแรก จะทำให้กระแส ( I )ในวงจรลดลงส่วนหนึ่ง ได้สมการคือ
                                I              =                   
เมื่อ Rs = Rp        
                                I              =            
                  Rs + 2Rm         =               …………………………. ( 2 )
เอาสมการ (2) - (1)
                    ( Rs +  2Rm ) - ( Rs + Rm )      =               -      
                                                     Rm   =               -      

                                เมื่อ
                                                Rm        =             ความต้านทานภายในมูฟเม้นท์มิเตอร์
                                                E             =             แหล่งจ่ายที่ใช้ในวงจร
                                                Ifs          =             กระแสเต็มสเกล
                                                I              =             กระแสในวงจรเมื่อนำ Rp มาต่ออนุกรมเพิ่มในวงจร
                ตัวอย่าง  ถ้ามิเตอร์มูฟเม้นท์มีขนาด 500 uA  ประกอบวงจรแรก เมื่อปรับ Rs จนกระแสเต็มสเกลพอดี  กระแสที่ไหลในวงจรคือ
                                Ifs          =            
   หรือ         Rs + Rm            =                     =                             =             3040 W ………..(1)
        เมื่อต่อวงจรตามรูป ค) จะอ่านกระแสได้ 0.9 เท่าของค่า Ifs หรือ 450 uA  ในขณะนี้ Rs = Rp และกระแสที่ไหลผ่านในวงจรคือ
                                I              =            
  หรือ          Rs + 2Rm     =           =                             =             3377 W …….. (2)
                จากสมการ                  Rm        =               -      
                =             3377 W   - 3040 W          
       เพราะฉะนั้นค่าความต้านทานภายใน (Rm)    =       337 W



                3.2.2 การหาค่าความต้านทานภายในโดยวิธีแอมมิเตอร์มิลลิโวลท์มิเตอร์  วิธีนี้ทำได้โดยการนำแอมมิเตอร์มาตรฐานและมิลลิโวลท์มิเตอร์มาตรฐานมาต่อวัดกระแสและแรงดันตกคร่อมมิเตอร์มูฟเม้นท์ แล้วนำมาคำนวณหาค่าความต้านทานภายในของมิเตอร์มูฟเม้นท์  ดังรูปที่ 2.4

                                                   Rm     =            
                          รูปที่ 2.4 แสดงการหาค่า Rm โดยวิธีแอมมิเตอร์มิลลิโวลท์มิเตอร์

2. แอมมิเตอร์กระแสตรง  ( DC Ammeter )



    แอมมิเตอร์กระแสตรงเป็นการนำเอามิเตอร์มูฟเม้นท์มาใช้งานโดยตรง แต่คอยล์ของมิเตอร์มูฟเม้นท์กินกระแสต่ำและขนาดของขดลวดใช้เส้นเล็กกินกระแสต่ำ  และการใช้งานเพื่อให้วัดกระแสได้มากขึ้น จึงจำเป็นต้องนำตัวต้านทานมาต่อขนานกับมิเตอร์มูฟเม้นท์เพื่อลดกระแสที่ไหลผ่านขดลวดดังกล่าว

    2.1 แอมมิเตอร์หนึ่งย่านวัด

                รูปที่ 2.5 แสดงการนำตัวต้านทานมาต่อขนานมิเตอร์มูฟเม้นท์ เพื่อให้วัดกระแสได้มากขึ้น
     จากรูปที่ 2.5 จะเห็นว่า
                                                VRsh                    =                VRm
                                         Ish . Rsh                     =           Ifs . Rm
                                                     Rsh                   =              . Rm
                เมื่อ     Ish     =     It - Ifs
                ดังนั้นสมการสำหรับการหาค่า Rsh คือ
                                               
                                                                Rsh                        =              . Rm

                เมื่อ           It            =             กระแสสูงสุดที่ต้องการวัด
                                Ifs          =             กระแสเต็มสเกลของมิเตอร์มูฟเม้นท์
                                Rm        =             ความต้านทานภายในของมิเตอร์มูฟเม้นท์
                                Rsh        =             ความต้านทานที่นำไปต่อขนานกับมิเตอร์มูฟเม้นท์


   ตัวอย่างที่ 1)
                มิเตอร์มูฟเม้นท์มีกระแสเต็มสเกล 1 mA มีความต้านทานภายใน 100 W  จะนำมาวัดกระแส 100 mA  จะต้องใช้ตัวต้านทานค่าเท่าไรมาต่อขนานกับมิเตอร์มูฟเม้นท์
                จากสมการ
                                Rsh                        =              . Rm
                                                                =               x 100 W
                                                                =             1.01 W




        2.2 แอมมิเตอร์หลายย่านวัด      เราสามารถออกแบบแอมมิเตอร์ให้วัดกระแสได้หลายย่านวัดเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งาน  ซึ่งเราจะไม่ออกแบบเหมือนกับแอมมิเตอร์หนึ่งย่านวัด แล้วนำตัวต้านทานแต่ละค่ามาต่อขนานกับมิเตอร์มูฟเม้นท์โดยใช้สวิทซ์เป็นตัวเลือก เพราะอาจเป็นอันตรายต่อมิเตอร์มูฟเม้นท์ได้ เมื่อมีการเปลี่ยนย่านวัด ดังรูปที่ 2.6

                                                รูปที่ 2.6 แสดงแอมมิเตอร์หลายย่านวัด



เพื่อป้องกันการเสียหายของมิเตอร์มูฟเม้นท์ในการเปลี่ยนย่านวัด จึงนิยมใช้วิธีขยายย่านวัดแบบ   ไอร์ตัน ชั้นท์
( Ayrton Shunt )

                                                รูปที่ 2.7 แสดง Ayrton Shunt dc Ammeter

จากรูปที่ 2.7 จะเห็นว่าเมื่อเราวัดกระแสที่ I1 ค่ากระแสเต็มสเกลคือ
                ที่ I1 ,      Ifs          =              x I1      ( จาก Current Divider Rule )….(1)
 และเมื่อเราวัดกระแสที่ I2 ค่ากระแสเต็มสเกลคือ
                ที่ I2 ,      Ifs          =             x I2    ( Current Divider Rule )….(2)
จะเห็นว่าเมื่อวัดกระแสที่ I1 หรือ I2  นั้นจะมีค่ากระแสเต็มสเกลเท่ากัน นั่นคือ
                                (1)          =             (2)
                                 x I1                                =             x I2
                               
                                 x I1                                =             x I2
                                                                        =                 

                เมื่อ           I1           =             กระแสที่จะวัดย่านที่ 1
                                I2           =             กระแสที่จะวัดย่านที่ 2
                                Rx          =             ความต้านทานที่ขนานกับมิเตอร์มูฟเม้นท์ย่านที่ 2
                                Rsh        =             ความต้านทานที่ขนานกับมิเตอร์มูฟเม้นท์ทั้งหมด
  ตัวอย่างที่ 2)



                มิเตอร์มูฟเม้นท์มีกระแสเต็มสเกล 50 uA มีความต้านทานภายใน 2 KW  จงออกแบบ DC Ammeter แบบ Ayrton Shunt  3 ย่านวัดคือ  5 mA , 50 mA  และ 100 mA

               
ย่าน 5 mA
                                Rsh  = (R1+R2+R3)      =              x Rm
                                                                                =              x 2 KW
                                                                                =             20.2 W          =  20 W
ย่าน 50 mA
                                Rx  =  ( R2+R3 )               =              x Rsh
                                                                                =              x 20 W
                                                                                =             2  W
                เพราะฉะนั้นค่า         R1             =     Rsh  - ( R2 + R3 )
                                                                                =             20 W - 2 W      =  18 W
ย่าน 100 mA
                                Rx   =  ( R3 )                       =              x Rsh
                                                                                =              x 20 W
                เพราะฉะนั้นค่า         R3                             =             1 W
                และ                                R2   =      ( R2 + R3 ) - R3
                                                                                =             2 W - 1 W      =  1 W


 


  2.1. แอมมิเตอร์โหลดดิง ( Ammeter Loading )
   ปกติแอมมิเตอร์ที่นำมาต่อเพื่อวัดกระแสในวงจร ควรจะมีความต้านทานภายในเป็นศูนย์  แต่ในความเป็นจริงแอมมิเตอร์จะมีความต้านทานของขดลวดหรือความต้านทานภายในอยู่ จึงทำให้เกิดปัญหา Ammeter Loading  ขึ้นเช่น  ในกรณีที่ความต้านทานของโหลดมีค่าใกล้เคียง หรือน้อยกว่าความต้านทานของแอมมิเตอร์  ค่าที่อ่านได้จากแอมมิเตอร์จะคลาดเคลื่อนไปจากความจริง วิธีการอย่างหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหานี้ คือการเปลี่ยนย่านการวัดให้สูงขึ้นเพื่อทำให้ความต้านทานของแอมมิเตอร์ต่ำลง เครื่องวัดจึงจะมีความถูกต้องมากขึ้น





                                        )                                                                    )

            รูปที่ 2.8  แสดงค่ากระแสในวงจรที่ไม่ได้วัดจากแอมมิเตอร์และที่วัดจากแอมมิเตอร์
จากรูป 2.8 ) จะเห็นว่าค่ากระแสจะมีค่าตามสมการคือ
                                                Iwom    =                   …………………. (1)
และจากรูป 2.8 ) จะเห็นว่าค่ากระแสเมื่อต่อแอมมิเตอร์วัดกระแส จะได้ตามสมการคือ
                                                Iwm       =               …………………(2)
                เมื่อ   Iwom    =    กระแสในวงจรที่ไม่ได้วัดจากแอมมิเตอร์
                        Iwm    =     กระแสในวงจรที่อ่านได้จากแอมมิเตอร์
                        Rth     =     ความต้านทานรวมของวงจรที่วัด
                        Vth     =     แหล่งจ่ายแรงดันที่ทำให้เกิดกระแสในวงจร
จะเห็นว่าค่ากระแสในวงจรที่ยังไม่ได้ต่อแอมมิเตอร์วัดในวงจรจะมีค่ามากกว่ากระแสที่วัดได้จากแอมมิเตอร์ และถ้านำเอาค่ากระแสที่อ่านได้จากแอมมิเตอร์นี้หารด้วยค่ากระแสที่ไม่ได้วัดจากแอมมิเตอร์ก็จะได้ความถูกต้อง ( Accuracy ) ของการวัดนี้ ดังสมการต่อไปนี้
                เมื่อเอาสมการ (2) / (1)  จะได้
                                                 =                      =             Accuracy ………(3)
เมื่อได้ค่าความถูกต้อง ก็สามารถหาค่าโหลดดิ้งของแอมมิเตอร์ ( Ammeter Loading )ได้คือ
                                Loading Effect                =             1  -  Accuracy
                หรือ    Percent Loading                   =             1 - Accuracy  x  100 %
และจากสมการ (3) Accuracy  ถ้าเราต้องการให้การวัดนี้มีความถูกต้อง มากที่สุดคือ 99 %จะเห็นว่าจะต้องเลือกแอมมิเตอร์ที่มีความต้านทานภายในน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 เท่าของความต้านทานในวงจรหรือความต้านทานโหลด  ดังนี้
               

จากสมการ  Accuracy            =            
                                                0.99                       =            
                                0.99 Rth + 0.99 Rm       =             Rth
                                                                Rm        =                            
                                                                Rm        =        . Rth   »     .Rth
เพราะฉะนั้น จะได้                        Rm        »       £  100 เท่าของ Rth    
                ตัวอย่าง 3)    วงจรไฟฟ้าวงจรหนึ่งมีความต้านทาน 1 KW มีแหล่งจ่ายที่ทำให้เกิดกระแสในวงจรนี้ 1 V. เมื่อนำแอมมิเตอร์มาต่อวัดกระแสในวงจรนี้ จงหา
ก)       ค่ากระแสจริงในวงจรนี้
ข)       ค่าความถูกต้อง (Accuracy) เมื่อแอมมิเตอร์นี้มีความต้านทานภายใน 1 KW
ค)       ค่า Percent Loading ของ Ammeter นี้
ง)       ค่ากระแสที่อ่านได้จากแอมมิเตอร์นี้
จ)         ค่าความถูกต้อง (Accuracy) เมื่อแอมมิเตอร์นี้มีความต้านทานภายใน 100 W
ฉ)       ค่ากระแสที่อ่านได้จากแอมมิเตอร์นี้
)                            I              =                                       =            
                                                                                                =             1 mA     ตอบ
)                                            Accuracy            =            
                                                                =            
                                                                                =             0.5    หรือ  50%   ตอบ
)                            Percent Loading             =             1 - Accuracy x 100 %
                                                                                =             1 - 0.5   =   0.5  x 100 %
                                                                                =          50 %   ตอบ
)             ค่ากระแสที่อ่านได้จากมิเตอร์          =                 =             0.5 mA    ตอบ



)                                             Accuracy            =            
                                                                =            
                                                                                =             0.909    หรือ  90.9%   ตอบ
)            ค่ากระแสที่อ่านได้จากมิเตอร์          =                  =   0.909 mA    ตอบ


 


3. โวลท์มิเตอร์กระแสตรง ( DC Voltmeter )



    โวลท์มิเตอร์จะอ่านค่าความต่างศักย์ระหว่างจุดสองจุด  ของวงจรจะเป็นวัดคร่อมแหล่งจ่ายหรือหรือวัดคร่อมตัวต้านทาน  เข็มของมิเตอร์จะชี้ตามแรงดันหรือความต่างศักย์มากน้อย โดยแรงดันนี้จะเป็นผลทำให้เกิดกระแสไหลเข้าแอมมิเตอร์มากน้อยตามแรงดันนั้น  เมื่อนำตัวต้านทานมาต่ออนุกรมกับแอมมิเตอร์ จะเป็นผลทำให้เกิดกระแสไหลเข้าแอมมิเตอร์ตามสัดส่วนของค่าตัวต้านทาน โดยที่ถ้ากระแสไหลเข้าแอมมิเตอร์เท่ากับกระแสเต็มสเกลก็จะทำให้เข็มมิเตอร์ชี้เต็มสเกล

รูปที่ 2.9 แสดงวงจรโวลท์มิเตอร์กระแสตรง
จากรูปที่ 2.9  จะเห็นว่าค่าแรงดันที่จ่ายให้กับวงจรจะทำให้เกิดกระแสในวงจร  และถ้าเราให้ค่า    แรงดันที่จ่ายให้กับวงจรเป็นค่าแรงดันเต็มสเกล กระแสที่เกิดในวงจรก็จะเป็นค่ากระเต็มสเกลนั่นเอง
ดังสมการต่อไปนี้
                                                V             =             I x ( Rs + Rm )
                                                Vfs         =             Ifs x ( Rs + Rm )
 เพราะฉะนั้นค่า Rs ที่ทำให้เกิดกระเต็มสเกลคือ
                                                Rs          =              - Rm



                ตัวอย่างที่ 4)   จงสร้าง DC Voltmeter เพื่อวัดแรงดัน 100 V.จากมิลลิแอมมิเตอร์ที่ค่าความต้านทานภายใน     100 W และมีค่ากระแสเต็มสเกลที่ 1 mA

                จากสมการ
                                                Rs          =              - Rm
                                                Rs          =              - 100 W
                                                                =             100 KW - 100 W
                                                                =             99.9 KW  

     3.1 โวลท์มิเตอร์หลายย่านวัด ( Voltmeter Multi Rang )



           ในการออกแบบวงจรโวลท์มิเตอร์นั้น สามารถนำเอาสมการของการหาค่าความต้านทานที่ต่ออนุกรมกับมูฟเม้นท์มิเตอร์มาคำนวณแต่ละย่านการวัดได้

                                รูปที่ 2.9 แสดง DC Voltmeter 3 ย่านวัดคือ 5V , 10V , 50V
  จากรูปที่ 2.9 สามารถคำนวณหาค่า Rs1 (ย่าน 5V) , Rs2 (ย่าน 10V) , Rs3 (ย่าน 100V) ดังนี้
ย่าน 5V
                                Rs1        =               - Rm
                                                =               - 2 KW
                                                =             98 KW
ย่าน 10V
                                Rs2        =               - Rm
                                                =               - 2 KW
                                                =             198 KW
ย่าน 50V
                                Rs3        =               - Rm
                                                =               - 2 KW
                                                =             998 KW

            ในทางปฏิบัตินิยมออกแบบ DC Voltmeter แบบ Multiply Resister โดยการนำตัวต้านทานในแต่ละย่านมาต่ออนุกรมกับมูฟเม้นท์มิเตอร์เพื่อเป็นการชดเชยค่าความต้านทานที่ไม่มีค่าใช้ในงานทั่วไป




                                รูปที่ 2.10 แสดงวงจรโวลท์มิเตอร์ลักษณะมัลติพลายเออร์รีซีสเตอร์
      จากรูปที่ 2.10 สามารถคำนวณหาค่า Rs1 , Rs2  , Rs3  ดังนี้
ย่าน 5V
                                Rs1        =               - Rm
                                                =               - 2 KW
                                                =             98 KW


ย่าน 10V
                                Rs2        =               - (Rm+Rs1)
                                                =               - 100 KW
                                                =             100 KW
ย่าน 50V
                                Rs3        =               - (Rm+Rs1+Rs2)
                                                =               - 200 KW
                                                =             800 KW

     3.2 ความไวของมิเตอร์ ( Meter Sensitivity )
              ใต้สเกลของ DC Voltmeter โดยทั่ว ๆไปจะเขียนอัตราของ Ohm-per-Volt ไว้ให้ เรียกว่าค่าของความไว ( Sensitivity ; S) ที่กำหนดให้  ค่า Sensitivity จะมีหน่วยเป็น  W / V (Ohm-per-Volt)
และสมการของ Sensitivity คือ
                S             =                     =                       =                  =

และค่า Input Resistance ของ Voltmeter  ก็จะหาได้จาก
                                Rin        =                    =             S.Vfs
     ตัวอย่างที่ 5)   โวลท์มิเตอร์ตัวหนึ่งใช้ มิเตอร์มูฟเม้นท์ ขนาด 50 uA  ประกอบด้วยย่าน 5V., 50V และ 500 V.  จงคำนวณหา Input Resistance ในแต่ละย่าน
                จาก                           S             =                     =                =             20 KW / V
     ที่ย่าน 5V
                                Rin        =             S.Vfs     =             20 KW / V x 5V.               =             100 KW

      ที่ย่าน 50V
                                Rin        =             S.Vfs     =             20 KW / V x 50V.             =             1 MW

   ที่ย่าน 500V
                                Rin        =             S.Vfs     =             20 KW / V x 500V.          =             10 MW

   ค่า Input Resistance ของ Voltmeter นี้มีความจำเป็นที่ต้องใช้ในการคำนวณหาค่าความถูกต้อง เมื่อนำเอา Voltmeter นี้มาใช้วัดแรงดันในวงจรใด ๆ เพื่อหาค่าการโหลดของมิเตอร์ในวงจรที่วัดต่อไป
3.3    โวลท์มิเตอร์โหลดดิง ( Voltmeter Loading )



        ปกติโวลท์มิเตอร์ที่นำมาต่อเพื่อวัดแรงดันในวงจร ควรจะมีความต้านทานภายในสูงเป็นอนันต์  แต่ในความเป็นจริงโวลท์มิเตอร์จะมีความต้านทานภายในของมิเตอร์มูฟเม้นท์บวกกับความต้านทานที่อนุกรมกับมิเตอร์มูฟเม้นท์อยู่ จึงทำให้เกิดปัญหา Voltmeter Loading  ขึ้นเช่น  ในกรณีที่ความต้านทานของโหลดมีค่าใกล้เคียง หรือมากกว่าความต้านทานของโวลท์มิเตอร์  ค่าที่อ่านได้จากโวลท์มิเตอร์จะคลาดเคลื่อนไปจากความจริง วิธีการอย่างหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหานี้ คือการเปลี่ยนย่านการวัดให้สูงขึ้นเพื่อทำให้ความต้านทานของโวลท์มิเตอร์สูงขึ้น เครื่องวัดจึงจะมีความถูกต้องมากขึ้น

                                                )                                                            )  
รูปที่ 2.11  แสดงค่าแรงดันในวงจรที่ไม่ได้วัดจากโวลท์มิเตอร์และที่วัดจากโวลท์มิเตอร์
จากรูป 2.11 ) จะเห็นว่าค่าแรงดันจะมีค่าตามสมการคือ
                                                Vwom   =             Vth   
และจากรูป 2.11 ) จะเห็นว่าค่าแรงดันเมื่อต่อโวลท์มิเตอร์วัดแรงดัน จะได้ตามสมการคือ
                                                Vwm     =              . Vwom
                เมื่อ   Vwom    =    แรงดันในวงจรที่ไม่ได้วัดจากโวลท์มิเตอร์มิเตอร์
                        Vwm    =       แรงดันในวงจรที่อ่านได้จากโวลท์มิเตอร์มิเตอร์
                        Rth     =     ความต้านทานรวมของวงจรที่วัด
                        Vth     =     แหล่งจ่ายแรงดันที่ทำให้เกิดแรงดันในวงจร
  ถ้านำเอาค่าแรงดันที่อ่านได้จากโวลท์มิเตอร์นี้หารด้วยค่าแรงดันที่ไม่ได้วัดจากโวลท์มิเตอร์ก็จะได้ความถูกต้อง ( Accuracy ) ของการวัดนี้ ดังสมการต่อไปนี้
                                                                                =                      =             Accuracy
เมื่อได้ค่าความถูกต้อง ก็สามารถหาค่าโหลดดิ้งของโวลท์มิเตอร์ ( Voltmeter Loading )ได้คือ
                                Loading Effect                =             1  -  Accuracy
                หรือ    Percent Loading                   =             1 - Accuracy  x  100 %
และจากสมการ Accuracy  ถ้าเราต้องการให้การวัดนี้มีความถูกต้อง มากที่สุดคือ 99 %จะเห็นว่าจะต้องเลือกโวลท์มิเตอร์ที่มีความต้านทานภายในมากกว่าหรือเท่ากับ 100 เท่าของความต้านทานวงจรหรือความต้านทานโหลด  ดังนี้
จากสมการ  Accuracy            =            
                                                0.99                       =            
                                0.99 Rin + 0.99 Rth       =             Rin
                                                                Rth        =                            
                                                                Rth        =        .Rin     »     . Rin
                                                                Rin        =             100 Rth
เพราะฉะนั้น จะได้                                        Rin        »       ³  100 เท่าของ Rth    
                ตัวอย่าง 6)    โวลท์มิเตอร์ตัวหนึ่งตั้งย่านการวัดที่ 50 V ใช้วัดวงจรที่จุด A-B ดังรูป โวลท์มิเตอร์ตัวนี้มีค่า Sensitivity  20 KW / V. จงหา
ก)       ค่าแรงดันจริงในวงจรที่จุด A-B นี้
ข)       ค่าความถูกต้อง (Accuracy) ของการวัดนี้
ค)       ค่า Percent Loading ของ Voltmeter นี้
ง)       ค่าแรงดันที่อ่านได้จากมิเตอร์นี้




ก)       ค่าแรงดันจริงระหว่างขั้ว A - B ( Vwom)
Vwom                   =            
                                                                =             x 100V
                                                                =             50 V.

)                            Accuracy            =            
                                Rth        =             R1 // R2             =             200K // 200K
                                                                                                =             100 KW
                และ     Rin คือ   Rin              =             S . Vfs 
                                                                =             20 KW /V. x 50 V
                                                                =             1 MW
เพราะฉะนั้น       Accuracy     =            
                                                                                =             0.91    หรือ  91%   ตอบ
)                            Percent Loading             =             1 - Accuracy x 100 %
                                                                                =             1 - 0.91   x   100 % 
                                                                                =          9 %   ตอบ
)             ค่าแรงดันที่อ่านได้จากมิเตอร์นี้ ( Vwm )
                                                Vwm                     =             Accuracy x Vwom
                                                                                =             0.91 x 50 V
                                                                                =             45.5 V.
                                                               



               


4. โอห์มมิเตอร์  ( Ohmmeter )



    4.1 โอห์มมิเตอร์แบบอนุกรม ( Series Ohmmeter ) เป็นโอห์มมิเตอร์อย่างง่าย ประกอบด้วยแบตตอรี่ , แอมมิเตอร์ และความต้านทานปรับค่าได้          ดังรูปที่ 2.12

                                                รูปที่ 2.12 แสดงวงจรโอห์มมิเตอร์อย่างง่าย
    Ro คือ  Thevenin Resistance  ของโอห์มมิเตอร์ รวมทั้งความต้านทานภายในของแอมมิเตอร์
    Vth   คือ ค่า Open Circuit Voltage ของโอห์มมิเตอร์ที่ขั้ววัด A – B  โดยทั่วไป Ro จะเป็นตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้  เพื่อคอยปรับให้เข็มของมิเตอร์ชี้ที่ค่าศูนย์โอห์มเสมอเมื่อลัดวงจร ( Short ) สาย A – B เข้าด้วยกัน  ซึ่ง Ro จะปรับให้กระแสไหลผ่านแอมมิเตอร์เต็มสเกลพอดี  ดังสมการต่อไปนี้
      เมื่อ  Short  สาย  A - B                  
Ifs          =                   ....................... (1)
      เมื่อนำค่าความต้านทานไม่ทราบค่า ( Rx ) มาวัดโดยต่อที่ขั้ว A – B  ขณะนี้กระแสในวงจรคือ
                                                I              =                  .................(2)
       จากสมการที่ (1) และ (2)  จะได้
                                                        =                              หรือ
                           Deflection  (D)   =                       =                 ................(3)
        จากสมการ (3) สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการเขียนสเกล ของโอห์มมิเตอร์ได้
                                                                Rx                                          D
0                                            1
Ro / 3                                   3 / 4
Ro                                          1 / 2
3 Ro                                      1 / 4
7 Ro                                      1 / 8
¥                                            0                  ตารางที่ 2.1
   จากตารางที่ 2.1  ค่า Rx และค่า D  ได้จากการแทนค่า Rx ในสมการ (3) จะเห็นว่า เมื่อ Rx เท่ากับศูนย์โอห์ม ( Short สาย A – B ) จะได้ค่า  D  เท่ากับ 1 หรือ Full Scale Deflection  ดังนั้น ณ จุดที่เข็มมิเตอร์ชี้เต็มสเกลก็จะเทียบกับค่าความต้านทานศูนย์โอห์มบนสเกลของโอห์มมิเตอร์ และ Rx เท่ากับ Infinite หรือ Open Circuit   (  สาย A – B ไม่ต่อกัน) จะได้ค่า  D  เท่ากับ 0 หรือ ไม่มีกระแสไหลในวงจรเข็มมิเตอร์จะอยู่กับที่   ดังนั้น ณ จุดนี้ก็สามารถเขียนสเกลบนโอห์มมิเตอร์ได้เป็น Infinite  Ohm   และ Rx เท่ากับ จะได้ค่า  D  เท่ากับ 1 / 2 ดังนั้น ณ จุดนี้ก็สามารถเขียนสเกลบนโอห์มมิเตอร์ได้เท่ากับค่าความต้านทาน Ro



                                                รูปที่ 2.13 แสดงสเกลของโอห์มมิเตอร์

  จากสมการที่ (3)  เราสามารถสร้างสเกลโดยการหาค่า Rx ในเทอมของ D และ Ro ได้
Deflection  (D)                =                 
                D.Ro + D.Rx    =             Ro
                                D.Rx     =             Ro - D.Ro
                                    Rx      =             ……………(4)
      4.2 โอห์มมิเตอร์แบบ Shunt



          ลักษณะของวงจรโอห์มมิเตอร์แบบ Shunt  แสดงดังรูปที่ 2.14


                                                รูปที่ 2.14 แสดง Shunt Ohmmeter Circuit
       หลักการทำงานของโอห์มมิเตอร์ชนิดนี้อาศัยการแบ่งกระแสในวงจร  ในขณะที่สายวัดทั้งสองแตะกัน หมายถึงความต้านทานเป็น ศูนย์  กระแสจากแบตเตอรี่จะไหลผ่านสายวัดทั้งสองเกือบทั้งหมด เข็มของมิเตอร์ก็จะไม่ขึ้นเพราะมีกระแสไหลผ่านน้อยมาก และกระแสในวงจรจะถูกจำกัดด้วยตัวต้านทาน Zero Set   และในขณะที่สายวัดทั้งสองจากกัน (ความต้านทาน Rx มีค่าสูง Infinite)กระแสจากแบตเตอรี่จะไหลผ่านแอมมิเตอร์ทั้งหมด  เข็มของมิเตอร์ก็จะขึ้นเต็มสเกล ฉะนั้นโอห์มมิเตอร์แบบนี้จึงมีสเกลศูนย์โอห์มอยู่ทางซ้ายมือ และค่าความต้านทานสูงถึง Infinite อยู่ทางขวามือเหมือนกับแอมมิเตอร์ทั่วไป ซึ่งจะกลับกับโอห์มมิเตอร์แบบอนุกรม
       ในโอห์มมิเตอร์แบบอนุกรม ค่ากระแสที่ไหลในวงจรจะลดลงเมื่อความต้านทานในวงจรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งดูจากสมการ
                                                        =            
        และเมื่อพิจารณาจากวงจรโอห์มมิเตอร์แบบ Shunt  จะได้ว่า
                                                Im          =            
      แต่                                      I              =            
  เพราะฉะนั้น                              Im          =              x       
                                                                =            
                                                                =                 ………………(5)
      จากสมการ (5) จะเห็นว่า ถ้า Rx มีค่าเป็นศูนย์ จะทำให้กระแสที่ไหลผ่านแอมมิเตอร์เป็นศูนย์ด้วย และถ้า Rx มีค่าสูง Infinite ก็จะทำให้มีกระแสไหลผ่านแอมมิเตอร์นั่นเอง

   4.3 โอห์มมิเตอร์แบบโพเทนชิโอมิเตอร์ ( Potentiometer )
   เป็นโอห์มมิเตอร์แบบหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในมัลติมิเตอร์ทั่ว ๆไป  ลักษณะของวงจรเบื้องต้นแสดงดังรูปที่ 2.15



                                รูปที่ 2.15 แสดงโอห์มมิเตอร์แบบ Potentiometer

  จากรูปที่ 2.15 จะเห็นว่า วงจรแอมมิเตอร์หรือมิเตอร์มูฟเม้นท์กับความต้านทานปรับค่าได้ จะต่อขนานกับตัวต้านทานค่ามาตรฐานค่าหนึ่ง ( Rs )  เมื่อนำสายวัดทั้งสองมาแตะกันเพื่อปรับค่า     Zero set นั้น  วงจรมิเตอร์มูฟเม้นท์จะต้องแสดงค่าของแรงไฟแบตเตอรี่นั้น  เพราะว่าลักษณะของ   วงจรมิเตอร์มูฟเม้นท์และความต้านทาน Zero set จะต่ออนุกรม เป็น วงจรโวลท์มิเตอร์ นั่นเอง       ในขณะนี้เราก็สามารถปรับค่าความต้านทาน Zero set เพื่อให้เข็มมิเตอร์ชี้เต็มสเกล ซึ่งแสดงค่าความต้านทานเป็นศูนย์โอห์มนั่นเอง  และเมื่อนำสายวัดมาต่อกับตัวต้านทานที่จะวัด (Rx)  ก็จะทำให้กระแสไหลผ่านวงจรมิเตอร์มูฟเม้นท์น้อยลงไปเรื่อย ๆ จนถึงค่า Rx เป็นค่า Infinite โอห์มก็จะไม่มีกระแสไหลผ่านวงจรมิเตอร์มูฟเม้นท์เลย ดังนั้นลักษณะสเกลของโอห์มมิเตอร์ชนิดนี้จึงเป็นแบบกลับหรือเรีกว่า Back of Scale เหมือนกับโอห์มมิเตอร์แบบอนุกรม



      วงจรมิเตอร์มูฟเม้นท์และความต้านทาน Zero set ที่ต่อขนานกับความต้านทานค่ามาตรฐานนั้น วงจรมิเตอร์จะต้องมีค่าความต้านทานสูงมากเมื่อเทียบกับความต้านทานมาตรฐาน  จึงทำให้ค่าความต้านทานมาตรฐานนี้เป็นตัวกำหนดค่าความต้านทานรวมของโอห์มิเตอร์นี้ และค่าความต้านทานมาตรฐานนี้ก็จะเป็นตัวกำหนดค่าตัวต้านทานกลางสเกลของโอห์มมิเตอร์  ดังนั้นถ้าเปลี่ยนค่าความต้านทานมาตรฐานเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า สเกลของโอห์มมิเตอร์เดิมก็จะอ่านค่าความต้านทานได้เป็น 10 เท่าด้วย 

           รูปที่ 2.16 แสดงตัวอย่างวงจรโอห์มมิเตอร์แบบ Potentiometer ในทางปฏิบัติ
จากรูป 2.16 เป็นตัวอย่างวงจรโอห์มมิเตอร์แบบ Potentiometer ในทางปฏิบัติจากมิลติมิเตอร์ซิมสันรุ่น 260 ( Simpson Model 260 ) ที่สามารถวัดค่าความต้านทานได้ 3 ย่านวัด คือ Rx1 , Rx100  และ Rx10K  ในย่านต่ำสุดคือ Rx1  ค่าความต้านทานมาตรฐานคือ 11.5 W ที่ย่าน Rx100 ค่าความต้านทานมาตรฐานคือ 1138 W รวมกับ 11.5 W รวมเป็น 1148.5 W  หรือประมาณ 100 เท่า  ของย่าน Rx1   แต่ในย่าน Rx10K  นั้นค่าความต้านทานมาตรฐานควรจะเป็น 115000 W หรือ 10,000 เท่า ของค่าความต้านทานมาตรฐานย่าน Rx1 แต่ในวงจรไม่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า ถ้าใช้มาตรฐาน 115000 W  ต่อขนานกับมิเตอร์มูฟเม้นท์แล้วนำไปอนุกรมกับแบตเตอรี่ 1.5V  นำมาวัดตัวต้านทาน Rx ค่า 115000 W จะเห็นว่าค่ากระแสที่ไหลผ่านมิเตอร์มูฟเม้นท์ไม่ถึงครึ่งหนึ่งคือ 25 uA ( มิเตอร์มูฟเม้นท์ขนาด 50 uA , 2K) จะมีเพียง 14 uA เท่านั้นจึงทำให้เข็มของมิเตอร์ชี้ไม่ถึงค่ากลางสเกล เพราะฉะนั้นในทางปฏิบัติจึงใช้วิธีการเพิ่มแรงดันแบตเตอรี่ให้สูงขึ้นเป็น 7.5 V. และแรงไฟแบตเตอรี่ที่เพิ่มขึ้นมานี้ไม่ได้ตกคร่อมความต้านทานมาตรฐานเลยทีเดียว เพราะถ้าทำเช่นนั้นก็จะต้องทำการเปลี่ยนวงจรทางด้านมิเตอร์มูฟเม้นท์และความต้านทาน Zero set กันใหม่เนื่องจากแรงไฟตกคร่อมสูงเกินไป
         4.3.1 การวิเคราะห์วงจรโอห์มมิเตอร์  ในการวิเคราะห์นี้เราจะคำนวณหาค่ากระแสที่ไหลผ่านมิเตอร์มูฟเม้นท์และใน ย่านต่าง ๆ คือ ย่าน Rx1 , Rx100 และ Rx10KW  ตามลำดับ จากรูปที่2.16  โดยพิจารณาทีละย่านดังนี้
   พิจารณาย่านวัด Rx1



                ในย่านนี้ เมื่อนำมาเขียนเป็นวงจรย่านนี้ย่านเดียว จะได้ดังรูปที่ 2.17

                                รูปที่ 2.17 แสดงวงจรโอห์มมิเตอร์ย่าน Rx1
จากรูปที่ 2.17  เมื่อนำสายวัดมาแตะกัน แล้วปรับความต้านทาน Rz ให้เข็มมิเตอร์ชี้เต็มสเกลที่ศูนย์โอห์ม  จะได้ว่า
                                                E             =             V1
                Rz + Rm + Rs                   =                     =            
                Rz + 2K + 23K                 =                =             30 K
                เพราะฉะนั้น    Rz      =             30 K - 25 K        =             5 KW
เมื่อปรับ Rz              =             0 W แรงดัน V1  จะมีค่าเท่ากับ
                                V1          =             Ifs x R
                                                =             50 uA x 25 KW =             1.25 V

แสดงว่าเมื่อปรับ Rz = 0 W เข็มมิเตอร์จะชี้เต็มสเกลได้ ต้องมีแรงไฟจากแบตเตอรี่ค่าต่ำสุด 1.25 V
และเมื่อปรับ Rz             =        10 KW แรงดัน V1  จะมีค่าเท่ากับ
                                V1          =             Ifs x R
                                                =             50 uA x 35 KW =             1.75 V

แสดงว่าเมื่อปรับ Rz = 10 KWเข็มมิเตอร์จะชี้เต็มสเกลได้ต้องมีแรงไฟจากแบตเตอรี่ค่าต่ำสุด 1.75 V
      สรุปได้ว่า ค่า Rz ที่ปรับค่าได้ในวงจรโอห์มมิเตอร์ย่านวัด Rx1 นี้จะสามารถปรับให้เข็มชี้เต็มสเกลได้ ( Zero Ohm ) ได้ โดยที่แรงไฟจากแบตเตอรี่ระหว่าง 1.25 v ถึง 1.75 V เปลี่ยนแปลงจาก 1.5 Vในวงจร เท่ากับ  + 0.25 V ) 
       ที่  Rz               =     0 W  ค่าความต้านทานภายในของโอห์มิเตอร์ย่านนี้ จะเท่ากับ
                                Rin        =             11.5 W // 25 KW              =             11.4947 W
และที่  Rz                =     10 KW  ค่าความต้านทานภายในของโอห์มิเตอร์ย่านนี้ จะเท่ากับ
                                Rin        =             11.5 W // 35 KW              =             11.4956 W

เพราะฉะนั้นค่าความต้านทานภายในรวมเฉลี่ยแล้วจะมีค่าเท่ากับ 11.495 W หรือประมาณ 11.5 W   และค่ากระแสที่ไหลผ่านสายวัดที่แตะกัน จะมีค่าเท่ากับ In คือ

                                In           =                                 =             130 mA




และเมื่อนำค่าความต้านทาน
Rx เท่ากับ 12 W มาต่อวัด จะได้ดังรูปที่ 2.18
       ) เมื่อวัดตัวต้านทาน Rx = 12W                        ) Thevenin Equivalent Circuit
                รูปที่ 2.18 แสดงวงจรฌอห์มมิเตอร์ย่าน Rx1 ขณะวัดตัวต้านทาน Rx

จากรูปที่ 2.18 )  ค่า    Rx       =             12 W
                                 Rz + Rm + Rs  =             30 KW
หา Thevenin Equivalent Circuit  สำหรับส่วนของวงจรที่จุด A - B จะได้
                                      Vth                  =                      =             0.734 V
                และ                 Rth =             11.5 W // 12 W =             5.87 W
เพราะฉะนั้นค่ากระแสที่ไหลผ่านมิเตอร์มูฟเม้นท์ หาจากวงจร Thevenin Equivalent Circuit Iรูป ข)
                                                Im          =                  =             24.4 uA
ในทางปฏิบัติจะถือว่า ค่า Im  มีค่าประมาณ 25 uA นั่นเอง เนื่องจากการคำนวณไม่ได้คิดค่าความต้านทานภายในของแบตเตอรี่ด้วย
                พิจารณาย่านวัด R x 100



  ในย่านวัด Rx100   เมื่อนำมาเขียนใหม่จะได้ดังรูปที่ 2.19

                               
รูปที่ 2.19 แสดงวงจรโอห์มมิเตอร์ ย่าน R x 100
จากรูปที่ 2.19 เมื่อนำสายวัดทั้งสองมาแตะกัน แล้วปรับ Rz เพื่อทำการ Zero set  จะเห็นว่าขณะนี้ค่าความต้านทานภายในของโอห์มมิเตอร์จะมีค่าประมาณหรือเท่ากับ ค่าความต้านทานกลางสเกลย่าน R x 100  คือ 1.2 KW  ดังนั้นค่ากระแสในวงจรจะเท่ากับ
                                In           =                                =             1.25 mA
  และ                        V110 W    =             110 W x 1.25 mA             =             0.1375 V
  เพราะฉะนั้น     V1   =             1.5 V - 0.1375 V              =             1.3625 V
          Rz + Rm + Rs         =                         =             27.25 KW
                                Rz          =             27.25 KW - ( 2 KW + 21.85 KW )
                                                =             3.4 KW
 



 เมื่อนำ Rx ค่ากลางสเกลคือ 1.2 KW มาวัดวงจรจะเป็นดังรูปที่ 2.20

                รูปที่ 2.20 แสดงวงจรโอห์มมิเตอร์ ย่าน Rx100 เมื่อวัด Rx ค่า 1.2 KW
จากรูปที่ 2.20  คำนวณหากระแสที่ไหลผ่าน มูฟเม้นท์มิเตอร์ โดยวิธี Current Divider
                RT         =             1.2K +110W + ( 11.5W +1.138K // 27.25K)
                                =             2.4129 KW
                IT          =                          =             621.6398 uA
จาก Current Divider Rule
                Im          =                 =             25.1 uA
ในทางปฏิบัติ Im ก็คือกระแสที่ทำให้เข็มมิเตอร์ชี้ขึ้นกลางสเกลนั่นเอง
               


พิจารณาย่าน R x 10 K



                ในย่านวัด R x 10 K เมื่อนำมาเขียนใหม่จะได้ดังรูปที่ 2.21

                        รูปที่ 2.21 แสดงโอห์มมิเตอร์ย่าน R x 10K



จากรูปที่
2.21 เมื่อนำสายวัดแตะกัน แล้วปรับ Rz เพื่อ Zero set  ค่า Rz จะคำนวณได้ดังนี้
                รูปที่ 2.22 แสดง Thevenin equivalent circuit  ย่าน R x 10 K

จากรูปที่ 2.22  ค่า Vth และ Rth หาได้ดังนี้
                                Vth        =                            =             1.226 V
                                Rth        =             23 K // 117.7 K                               =             19.24 KW
และเมื่อปรับ Rz ให้กระแสเต็มสเกลจะได้
                                Im          =             Ifs          =             50 uA
ดังนั้น        Rm + Rz + Rth                =            
                                                                =                           =             24.52 KW
และ                          Rz          =             24.52 KW - 19.24 KW - 2 KW
                                                =             3.28 KW





เมื่อนำ
Rx ค่ากลางสเกลคือ 120 KW มาวัดกระแสที่ไหลผ่านมิเตอร์มูฟเม้นท์จะได้ดังนี้
                                รูปที่ 2.23 แสดงย่านวัด R x 10 K เมื่อวัดค่า Rx ค่า 120 KW
จากรูปที่ 2.23 จะได้ว่า
                RT         =             120 K + 117.7 K + ( 23 K // 5.28 K )
                                =             241.99 KW
                IT          =                       =             30.99 uA
จาก Current Divider Rule
                Im          =             =             25.2 uA

ในทางปฏิบัติคือ ค่ากระแสกลางสเกลนั่นเอง

               











    4.4 การออกแบบวงจรโอห์มมิเตอร์
         ผลจากการวิเคราะห์วงจรโอห์มมิเตอร์ของมัลติมิเตอร์ ซิมสัน 260 จะเห็นว่าลักษณะวงจรเป็นโอห์มมิเตอร์แบบ Potentio meter  ค่าความต้านทานกลางสเกลคือ 12 W , 1.2 KW และ 120 KW สำหรับย่าน R x 1 , R x 100 และ R x 10 KW ตามลำดับ ค่าความต้านทานกลางสเกลนี้จะเป็นตัวกำหนดค่ากระแสที่ขั้ววัดขณะที่ทำการ Zero set  ย่าน R x 1 และ R x 100 ใช้แบตเตอรี่ 1.5 V  ส่วนย่าน R x 10 K ใช้แบตเตอรี่ 7.5 V  กระแสเมื่อทำการปรับ Zero set แล้วในแต่ละย่านคือ  125 mA สำหรับย่าน R x 1 , 1.25 mA สำหรับย่าน R x 100  และ 62.5 uA  สำหรับย่าน R x 10 K
        ในการออกแบบนั้นเราจะต้องกำหนดค่าความต้านทานกลางสเกล ในย่าน R x 1 แล้วเลือกมิเตอร์มูฟเม้นท์ที่จะใช้  รวมทั้งตัวต้านทานที่ปรับค่าได้ที่ใช้สำหรับ Zero set และย่านที่ต้องการ
เช่น ถ้าต้องการออกแบบโอห์มมิเตอร์ตามตัวอย่างที่วิเคราะห์มาก็คือ ต้องการย่านวัด 3 ย่านวัดคือ R x 1 , R x 100 และ R x 10 K  ค่าความต้านทานกลางสเกล 12 W  ตัวต้านทานปรับค่าได้ (Rz)  คือ 10 KW ใช้มิเตอร์มูฟเม้นท์ขนาด 50 uA ความต้านทานภายใน 2 KW
        เมื่อเราทราบความต้องการและสิ่งที่กำหนดให้แล้วเราจะทำการคำนวณหาค่าแรงเคลื่อนหรือแบตเตอรี่ที่จะใช้ในแต่ละย่านวัด โดยคำนึงว่าเมื่อทำการลัดวงจรที่สายวัด ( Zero set ) จะต้องจ่ายกระแสออกมาได้ไม่ต่ำกว่ากระแสเต็มสเกลของมิเตอร์มูฟเม้นท์ที่เลือกใช้  โดยเราสามารถเขียน   วงจรโอห์มมิเตอร์ในการออกแบบใหม่ได้ดังรูปที่  2.24





                                                รูปที่ 2.24 แสดงวงจรโอห์มมิเตอร์ที่จะออกแบบ



คำนวณหาคาแรงเคลื่อนเพื่อเลือกใช้แบตเตอรี่ในแต่ละย่านวัด
    ในย่าน R x 1   ค่าความต้านทานของวงจรในย่านนี้จะมีค่าเท่ากับค่าความต้านทานกลางสเกล คือ 12 W  ดังนั้นถ้ากำหนดแรงเคลื่อนเท่ากับ 1.5 V  กระแสที่จ่ายออกมาจะมีค่าเท่ากับ
                In           =                 =             125 mA
จะะเห็นว่าเมื่อลัดวงจรเพื่อปรับ Zero set จะสามารถจ่ายกระแสได้ 125 mA ซึ่งมีค่ามากกว่ากระแสเต็มสเกลของมิเตอร์มูฟเม้นท์คือ 50 uA ดังนั้นจึงเลือกค่าแบตเตอรี่ที่จะใช้ในย่านนี้คือ     1.5 V และสำหรับในย่านอื่น ๆ ก็จะใช้หลักการเดียวกันนี้ คือ
    ในย่าน R x 100   ค่าความต้านทานของวงจรในย่านนี้จะมีค่าเท่ากับค่าความต้านทานกลางสเกล คือ 1.2 KW  เลือกแบตเตอรี่ 1.5 V เพราะสามารถจ่ายกระแสได้มากกว่ากระแสเต็มสเกลของมิเตอร์มูฟเม้นท์คือ 50 uA คือ
                In           =                =             1.25 mA
     ในย่าน R x 10 K   ค่าความต้านทานของวงจรในย่านนี้จะมีค่าเท่ากับค่าความต้านทานกลางสเกล คือ 120 KW  เลือกแบตเตอรี่ 7.5 V เพราะสามารถจ่ายกระแสได้มากกว่ากระแสเต็มสเกลของมิเตอร์มูฟเม้นท์คือ 50 uA คือ
                In           =               =             62.5 uA
    ดังนั้นเลือกแบตเตอรี่ในแต่ละย่านวัดดังนี้
                R x 1                      เลือกแบตเตอรี่  1.5 V
                R x 100                เลือกแบตเตอรี่  1.5 V
                R x 10 K              เลือกแบตเตอรี่  7.5 V
คำนวณหาค่าตัวต้านทานในแต่ละย่านดังนี้
                ย่าน R x 10 K
                                Rsh  =  ( R2 + R4 + R5 )               =             x Rm'
                Ifs คือกระแสเต็มสเกลของมิเตอร์มูฟเม้นท์ = 50 uA   
It  คือ กระแสขณะลัดวงจรที่สายวัดทั้งสอง = 62.5 uA
Rm' คือความต้านทานภายในมูฟเม้นท์รวมกับความต้านทาน Rz ( Rm + Rz ) หาได้จาก
                Rm'       =            
V1 คือแรงดันตกคร่อม Rm + Rz ขณะปรับ Zero set   หาได้จากการคำนวณหาแรงดัน ตกคร่อม Rm + Rz  ขณะที่ Rz ปรับค่าต่ำสุดเท่ากับ 0 W  และแรงดันตกคร่อม Rm + Rz  ขณะที่ Rz ปรับค่าสูงสุดเท่ากับ 10 KW แล้วเลือกค่าที่อยู่ในช่วงการปรับ Rz ระหว่าง 0 - 10 KW ดังนี้
เมื่อปรับ Rz = 0 W  แรงดันตกคร่อมที่ Rm + Rz ที่ทำให้เกิดกระแสเต็มสเกลของมิเตอร์มูฟเม้นท์คือ                                V             =             Ifs x (Rm+Rz)
                                                =             50 uA x 2 K
                                                =             0.1 V
เมื่อปรับ Rz = 10 KW  แรงดันตกคร่อมที่ Rm + Rz ที่ทำให้เกิดกระแสเต็มสเกลของมิเตอร์มูฟเม้นท์คือ          V             =             Ifs x (Rm+Rz)
                                                =             50 uA x 12 K
                                                =             0.6 V
ที่บนสเกล Dc Voltmeter จะเห็นว่าค่าแรงไฟสูงสุดที่เต็มสเกลจะสามารถวัดได้ตั้งแต่    0.25 V ขึ้นไป  นั่นคือแรงดัน V1 ควรอยู่ในย่าน 0.25 V ขึ้นไป  ในที่นี้ถ้าเลือกค่า V1  ที่ตกคร่อมมิเตอร์ให้สูงกว่าค่าสูงสุดที่ปลายสเกลของ DC Voltmeter อีกประมาณ 15 % จะได้ค่าแรงไฟ     V1  ประมาณ         =  0.2875 V. ( หรืออาจจะเลือกค่าเฉลี่ยระหว่างค่า 0.1 Vกับ ค่า 0.6 V แล้วบวกอีก 15 % ก็ได้ )  ดังนั้นจะสามารถคำนวณหาค่า Rz     ขณะ Zero set ได้
                Rm'       =                     =                        =             5.75 KW
จาก Rm'   =  Rm + Rz   เพราะฉะนั้น  Rz หาได้จาก
                Rz          =             5.75 KW - 2 KW               =             3.75 KW
และ                          Rsh  =  ( R2 + R4 + R5 )               =             x Rm'
แทนค่า                                                                                      =              x 5.75 KW
                ดังนั้นค่า  Rsh  =   ( R2 + R4 + R5 ) =             23 KW
และ                                                                           R1         =            
                                                                                                =                            
                                                                                =             115.4 KW ………………….ตอบ

                ย่าน R x 100
                จากสูตรการคำนวณความต้านทานแบบ Ayrton Shunt  จะได้
                                                Rx  =   ( R4 + R5 )            =              x Rsh
                                                                                                =              x 23 KW
                                                                                                =             1.15 KW
                เพราะฉะนั้นหาค่า R2 ได้จาก     R2 + R4 + R5    =  23 KW
                แทนค่า                                                      R2          =  23 KW - 1.15 KW      
                                                                                                =   21.85 KW………………..ตอบ              
ในขณะนี้จะมีแรงไฟตกคร่อม ( R4 + R5 ) เท่ากับ  ( I2 - Ifs ) x ( R4 + R5 ) คือ
                                                VR4+R5   =             (1.25mA - 50 uA ) x ( 1.15 KW)
                                                                =             1.38 V.
                ดังนั้น                        R3          =            
                                                                =             0.096 KW           =             960 W………….ตอบ
ย่าน R x 1
                จากสูตรการคำนวณความต้านทานแบบ Ayrton Shunt  จะได้
                                                Rx  =   ( R5 )       =              x Rsh
                                                                                                =              x 23 KW
                                                                                                =             11.5 W
                เพราะฉะนั้นหาค่า R4 ได้จาก  R4 + R5    =  1.15 KW
                แทนค่า                                                      R4          =  1.15 KW - 11.5 W      
                                                                                                =   1.1385 KW………………..ตอบ           
ในขณะนี้จะมีแรงไฟตกคร่อม ( R5 )            เท่ากับ  ( I3 - Ifs ) x ( R5 ) คือ
                                                VR4+R5   =             (125mA - 50 uA ) x ( 11.5 W)
                                                                =             1.44 V.
                ดังนั้น                        R6          =            
                                                                =             0.5046 W …………………………….ตอบ
ความต้านทาน R6 มีค่าน้อยมากอาจตัดทิ้งได้ เพราะในทางปฏิบัติจะมีความต้านทานภายในแบตเตอรี่และสายต่อวงจรมาเกี่ยวข้องด้วย



ซึ่งวงจรที่ออกแบบได้เราสามารถเขียนเป็นวงจรที่สมบูรณ์ได้ดังรูปที่
2.25


                                รูปที่ 2.25 แสดงวงจรโอห์มมิเตอร์แบบ Potentio-meter ที่ออกแบบ